รวมบิดาแห่งจิตวิทยาต่าง ๆ แนวข้อสอบครูผู้ช่วย สอบครูท้องถิ่น สพฐ กทม อปท 2566

รวมบิดานักจิตวิทยาต่าง ๆ แนวข้อสอบบรรจุ

จิตวิทยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณที่พยายามค้นหาความหมายของจิต ซึ่งในระยะแรกจะคิดถึงหัวใจและสมอง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความคิด ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 19 การศึกษา จิตวิทยาแยกออกเป็น 2 แนวทาง คือแนวทางปรัชญาและแนววิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ผู้นำแนวคิดทางปรัชญา คือจอห์น ล็อค (John Lock, 1632-1704) เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้รับฉายาว่าเป็น บิดาแห่ง จิตวิทยาแผนใหม่ ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการคิดที่มีความสัมพันธ์กับจิต และความรู้ทั้งหมดของบุคคลเกิดจากการที่ประสาทสัมผัสปะทะกับโลกกายภาพ

1. วิลเฮล์ม แมกซ์ วู้นท์ : บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง

รวมบิดานักจิตวิทยาต่าง ๆ แนวข้อสอบท้องถิ่น 2562

วุนดท์ มีความเชื่อว่าจิตของมนุษย์คือ ความรู้ตัว (Consciousness) ซึ่งความรู้ตัวนี้สามารถสังเกตโดยเจ้าตัวผู้รู้โดย วิธีสังเกตภายใน (Introspection) ที่ทำได้โดยการมองเข้าหาตนเอง มองความรู้ตัวของตนเอง

2. ซิกมันด์ ฟรอยด์ : บิดาแห่งจิตวิทยาโลก และ บิดาแห่งจิตวิทยาวิเคราะห์

รวมบิดานักจิตวิทยาต่าง ๆ แนวข้อสอบท้องถิ่น 2562

ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น

3. จอห์น บี วัตสัน : บิดาแห่งพฤติกรรม

นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟ มาเป็นหลักในการอธิบายผลงานของวัตสัน ได้รับความนิยมจนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม” ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข

4. เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ : บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธอร์นไดค์

ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่งได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยง (Bond) ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง ละได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ธอร์นไดค์ได้ ทำการทดลองพบว่า การเรียนรู้ของอินทรีย์ ที่ด้อยความสามารถเกิดจากการลองผิดลองถูก( Trial and Error ) ซึ่งต่อมาเขานิยมเรียกว่า การเรียนรู้แบบเชื่อมโยงการทดลองของธอร์นไดค์ ที่รู้จักกันดีที่สุด คือ การเอาแมวหิวใส่ในกรง ข้างนอกกรงมีอาหารทิ้งไว้ให้ แมวเห็นในกรงมีเชือกซึ่งปลายข้างหนึ่งผูกกับบานประตูไว้ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อถูกดึงจะทำให้ประตูเปิด ธอร์นไดค์ ได้สังเกตเห็นว่า ในระยะแรก ๆ แมวจะวิ่งไปวิ่งมา ข่วนโน่นกัดนี่ เผอิญไปถูกเชือกทำให้ประตูเปิด แมวออกไปกินอาหารได้ เมื่อจับแมวใส่กรงครั้งต่อไปแมวจะดึงเชือกได้เร็วขึ้นจนกระทั่งในที่สุดแมวสามารถดึงเชือกได้ในทันที

5. แฟรงค์ พาร์สัน : บิดาแห่งการแนะแนว 

บิดาแห่งการแนะแนว  ผู้ริเริ่มการแนะแนวอาชีพในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้วางรากฐานการแนะแนวในประเทศสหรัฐอเมริกา  และโรงเรียนซึ่งจุดเริ่มต้นของการแนะแนวแห่งแรก คือ  California  School  of  Mechanical  Arts

ประวัติการทำงานของแฟรงค์ พาร์สัน หลังจากจบการศึกษาเขาได้ทำงานในบริษัทตำแหน่งชายช่างรถไฟ  ต่อมาได้ลาออกไปเป็นครูที่  Southbridge  รัฐแมซซาซูเซส และสอนวิชาประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์  ด้วยความที่เขามีคารมคมคายดีและอัธยาศัยดีทำให้คนในชุมชนใกล้โรงเรียนชื่นชอบและเป็นที่รู้จัก  และมีคนแนะนำให้เขาเรียนด้านกฎหมาย เขาจึงสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย

ต่อมาแฟรงค์ พาสันส์ ได้พัฒนาการแนะแนวอาชีพ โดยมีแนวคิดว่า “บุคคลเมื่อทำงานเหมาะสมกับความสามารถและชอบย่อมทำงานได้ดี”

แฟรงค์ พาสันส์  จึงนับได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มงานแนะแนวให้เป็นระบบตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  จึงถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการแนะแนวอาชีพ

6. อัลเฟรด บิเนต์ : บิดาแห่งสติปัญญา

6. อัลเฟรด บิเนต์ : บิดาแห่งสติปัญญา

ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา

1. ทฤษฎีเอกนัยหรือทฤษฎีองค์ประกอบเดียว ผู้คิดทฤษฎีนี้ อัลเฟรด บิเนต์ มีความเห็นว่าว่าเชาวน์ปัญญาหมายถึงผลรวมของความสามารถหลายๆ ด้านของบุคคลที่มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันเข้าเป็นองค์ประกอบเดียว เรียกว่าองค์ประกอบทั่วไป ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ ซึ่งบิเนต์เชื่อว่าจะพัฒนาไปตามวุฒิภาวะของแต่ละบุคคล

2. ทฤษฎีสององค์ประกอบ ผู้คิดทฤษฎี ชาร์ลส์ อี. สเปียร์แมน เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาของคนเราไม่น่าจะมีเพียงองค์ประกอบดียว แต่ควรประกอบขึ้นจากองค์ประกอบสองประเภทด้วยกัน

ขอบคุณข้อมูล : maytoom1237  www.healthcarethai.com  nukjit.blogspot.com  sites.google.com/site/psychologybkf1  www.newnaew.net  mollom.50webs.com

ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา https://krucomonlines.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอขอบคุณครับ

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *