ขอแนะนำ 7 เกมสนุกที่ได้ประโยชน์ครบถ้วน! เหล่าเกมโค้ดดิ้งที่จะทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมไปพร้อม ๆ กับพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
เกม คืออะไร มีกี่ประเภท ประโยชน์ของการเล่นเกมมีอะไรบ้าง
เกมส์เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่มอบความบันเทิงให้แก่มนุษย์หรือบางครั้งอาจใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา โดยมีโครงสร้างหลักประกอบด้วยเป้าหมายและกฎกติกาที่ถูกกำหนดโดยมนุษย์สำหรับการแข่งขันหรือพัฒนาทักษะด้านร่างกายการใช้พละกำลังหรือความคิดเพื่อเอาชนะ ตัวอย่างเกมยุคแรกที่ยังคงได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน
7 เกมฝึกเขียนโปรแกรม ตั้งแต่เด็กเล็กถึงเด็กโต
![lightbot lightborJr](https://kidcoding.files.wordpress.com/2018/01/kc3_2.jpg)
1. Lightbot and Lightbot Jr.
อธิบาย : เป็นเกมสั่งให้หุ่นยนต์เดินตามสัญลักษณ์แบบง่าย ๆ โดยแต่ละด่านทางเดินก็จะซับซ้อนมากขึ้น เด็ก ๆ จะได้ฝึกทักษะการคิดและวางแผน เพื่อที่จะเปลี่ยนพื้นที่สีฟ้าให้เป็นสีเหลืองให้ได้
ลิงก์ : เว็บไซต์ | iOs | Android
![kodable เกมเขียนโค้ด](https://kidcoding.files.wordpress.com/2018/01/kc3_3.jpg)
2. Kodable (เกมเรียนรู้เริ่มเขียนโค้ด)
อธิบาย : เป็นเกมสนุกและวิธีเล่นไม่ซับซ้อน เพียงแค่ใส่คำสั่งลูกศรที่ให้มา แล้วกดรันเพื่อให้ตัวละครเคลื่อนไหวไปตามลูกศรที่เราวางไว้ ตัวละครก็จะเดินไปทำภารกิจต่างๆ เช่น เก็บเหรียญตามทางเดินที่ซิกแซก หรือแม้กระทั่งต่อสู้กับสัตว์ประหลาด โดยเวอร์ชัน Pro จะมีด่านให้เล่นมากกว่า
ลิงก์ : เว็บไซต์ | iOs
![cargobot](https://kidcoding.files.wordpress.com/2018/01/kc3_4.jpg)
3. Cargo-Bot (เรียงกล่องเสริมกระบวนการคิด)
อธิบาย : เกมสร้างคำสั่งเพื่อสั่งให้เครนเรียงกล่องในรูปแบบต่าง ๆ ภาพสวย วิธีเล่นไม่ซับซ้อน โดยตัวเกมจะให้เราสร้างชุดคำสั่งจากสัญลักษณ์ที่ให้มาเพื่อผ่านด่าน เช่น ขยับกล่องทั้งหมดไปทางซ้าย หรือจัดกลุ่มสำหรับสีกล่อง เป็นต้น
ลิงก์ : iOs
![Code Combat](https://kidcoding.files.wordpress.com/2018/01/kc3_5.jpg)
4. Code Combat (ท้าทายนักเขียนโค้ดรุ่นเยาว์)
อธิบาย : เกม code combat เป็นเกมฝึกเขียนโปรแกรมที่มีความสมจริงมากขึ้น ใช้ภาษาโปรแกรมเขียนจริง ๆ เหมาะสำหรับเด็กโต และคนที่ชอบเกมผจญภัย ตัวเกมจะให้เราเขียนคำสั่งเดิน ต่อสู้ และการสวมใส่อาวุธ เพื่อสะสมวัตถุดิบไปต่อกรกับบอสในดันเจี้ยนทีละด่าน นับว่าเป็นเกมที่ท้าทายมาก ๆ สำหรับเด็กที่อยากเริ่มต้นเขียน Code
ลิงก์ : เว็บไซต์
![Codemancer](https://kidcoding.files.wordpress.com/2018/01/kc3_6.jpg)
5.Codemancer (Coding เสริมจินตนาการ)
อธิบาย : เป็นโปรเจ็กต์เกมโค้ดดิ้งคุณภาพดี จาก kickstarter ยิ่งถ้าลูก ๆ ของเราชอบจินตนาการโลกเวทมนตร์ เกมนี้ยิ่งตอบโจทย์ทั้งความเพลิดเพลินและพื้นฐานการเขียนโค้ด โดยเป็นเกมให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็นนักเวทย์หญิงพร้อมสัตว์เลี้ยงคู่ใจ แล้วใช้ชุดคำสั่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อทำให้ตัวละครของเราเดินทางต่อสู้ไปในโลกเวทมนตร์
ลิงก์ : เว็บไซต์
![Machineers](https://kidcoding.files.wordpress.com/2018/01/kc3_7.jpg)
6. Machineers (หุ่นยนต์จอมไขปัญหา)
อธิบาย : Machineers ได้รับรางวัล Best Student Game ปี 2012 ในงานเกมที่รัฐฟลอริดา ตั้งแต่ยังเป็นตัว demo (ขณะนั้นทีมผู้สร้างเป็นนักศึกษา) พอปล่อยเกมจริงในปีต่อมาก็ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในสาขา Games for a Purpose (เกมเพื่อการเรียนรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรม) ที่ปารีสอีกด้วย โดยตัวเกมเราจะต้องสวมบทบาทเป็นเจ้าหุ่นยนต์ที่ใช้ชีวิตประจำวันด้วยการแก้ปัญหาสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น ต้องขับรถแต่รถเสีย เป็นต้น เป็นเกมที่เน้นการใช้การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จ
ลิงก์ : เว็บไซต์
![robozzle](https://kidcoding.files.wordpress.com/2018/01/kc3_8.jpg)
7. Robozzle
อธิบาย : Robozzle มีความคล้ายคลึงกับเกมที่แนะนำไปทั้ง 6 เกมแรก คือเป็นเกมในกลุ่ม puzzle แต่จะมีความยากมากขึ้นในแต่ละหมวดต่างกันไป โดยมี tutorial สอนในแต่ละหมวดด้วย เป็นเกมที่เน้นให้ผู้เล่นได้คิดแก้เกมอย่างซับซ้อนมากขึ้น เรียกได้ว่า อาจถึงขั้นที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องมานั่งข้าง ๆ เพื่อแนะนำลูกหลานเล่นกันเลยทีเดียว
ลิงก์ : เว็บไซต์ | iOs | Android
ขอบคุณข้อมูล : school.dek-d.com
ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา https://krucomonlines.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอขอบคุณครับ